เรื่องของ “ยุง” ที่อาจทำให้เกิดเรื่อง “ยุ่ง” ในชีวิต
ยุง (Mosquitoes)
แมลงเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก มีทั้งแมลงที่สวยงามมีประโยชน์ เช่น ผีเสื้อ แมลงปอ และแมลงที่เป็นอาหาร เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงดานา แต่แมลงที่ทุกคนรู้จักกันดีและเป็นสัตว์ปีกที่พบได้ทุกหนทุกแห่ง คือยุง
ในโลกมียุงกว่า 4,000 ชนิด และเป็นสัตว์ที่เป็นภัยและก่อให้เกิดความรำคาญต่อมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย เราจะสามารถพบเจอยุงที่เข้ามากัดกินเลือดของเราเป็นอาหาร และเป็นพาหะนำโรคหลักๆ ได้อยู่สี่สายพันธุ์ ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงรำคาญ และยุงเสือหรือยุงลายเสือ โดยยุงแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันดังนี้
ตารางที่ 1 โรคที่นำโดยยุงและแมลงปากกัดอื่นๆ ในประเทศไทย
พาหะ โรค
ยุงก้นปล่อง (Anopheles) : มาเลเรีย โรคเท้าช้าง
ยุงรำคาญ (Culex) : ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง
ยุงลาย (Aedes) : เดงกี ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง
ยุงเสือ (Mansonia) : โรคเท้าช้าง
ริ้นฝอยทราย (Phlebotomus,Lutzomyia) : Leishmaniasis
ริ้น (Ceratopogonidac) : Mansonellosis
แต่เราเคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมบางคนถึงเป็นที่ชื่นชอบของยุง ส่วนบางคนยุงก็แทบจะไม่ไปยุ่งด้วยเลย น้อง Fuku มีข้อมูลเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยุงมาให้ทุกคนได้รู้จักยุงมากขี้น
1. หากถามว่า กรุ๊ปเลือดใด ที่ดึงดูด "ยุง" มากที่สุด กรุ๊ป B กับ กรุ๊ป O สูสีกัน นั้นเพราะมีกลิ่นที่ยุงชอบ รองลงไปเป็น กรุ๊ป A และ กรุ๊ป AB ตามลำดับ แต่ไม่ว่าเลือดกรุ๊ปไหนยุงก็กัดหมด ทางที่ดี คือ ไม่ต้องไปลอง ป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัดดีที่สุด
2. "สี" ดึงดูด "ยุง" มากที่สุด จะเป็นโทนสีเข้ม สีดำ สีแดง และไม่ชอบ สีที่สะท้อน คือ สีขาว ระหว่าง สีแดง กับ สีเทา ยุงกลับชอบสีแดง มากกว่า นั้นเพราะ ในสีเทามีเปอร์เซ็นของสีขาว แทบจะเกือบ 100% มีหยด สีดำ ไปแค่นิดเดียว แต่ไม่ว่า สีอะไรก็กัดได้หมด ดังนั้นอย่าให้ยุงกัดดีที่สุด
3. ผู้หญิง ช่วงมีประจำเดือน เสี่ยงถูกยุงกัด มากขึ้น นั้นเพราะมีการปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" มาก ขณะที่ระดับฮอร์โมน แตกต่างจากปกติ ขณะที่เด็กมีโอกาสถูกยุงกัดมากกว่าผู่ใหญ่ เพราะผิวที่อ่อนนุ่ม ยุงเจาะง่าย ขณะที่ อาหารบางชนิด ทำให้เรามีกลิ่นตัว เพิ่มแนวโน้มยุงมากัด ได้เช่นกัน
4. กลิ่นเหงื่อ กลิ่นตัวแรงขึ้น ดึงดูดยุงได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเราไปออกกำลังกายจะมีเหงื่อ ปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" ทำให้ยุงชอบมากัด
5. "ยุงลาย" บินได้ไม่ไกล ชอบอาศัยเกาะพักอยู่ในที่มืดและพื้นที่ที่มีความชื้นในอากาศสูง ก่อนออกดูดเลือด โดยเฉพาะยุงลายบ้าน เป็นยุงที่ชอบกินเลือดคนมาก จะชอบอาศัยอยู่ในบ้านคน วันหนึ่ง ๆ แค่บินจากฝาผนังที่ยุงเกาะพัก จากตู้เสื้อผ้า หรือบินมาจากห้องน้ำไปกัดคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้วก็บินกลับไปเกาะที่เดิม วันหนึ่งอาจบินไกลไม่ถึง 10 เมตร
6. ช่วงหลังรับประทานอาหารของคน ในช่วงหลังอาหารเช้า หลังอาหารเที่ยง เป็นช่วงพีคที่ยุงออกหากิน พบมากที่สุด คือ เวลา 09.00 - 11.00 น. และ 13.00 -14.30 น. สิ่งที่ทำให้ยุงออกมากกัดมากที่สุดก็คือ กลิ่นอาหารที่ร่างกายย่อย ซึ่งจะปล่อยกลิ่นออกมาทางผิวหนัง ลมหายใจ ทำให้ดึงดูดยุง ฉะนั้นหากอยากกำจัดยุง เวลานี้อาจเหมาะสม
7. วงจรชีวิต "ยุง" มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะลูกน้ำ ระยะตัวโม่ง และระยะตัวเต็มวัย โดยระยะตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นระยะที่กินเลือด เพื่อใช้ในการพัฒนาไข่ของยุง จึงทำให้เกิดการแพร่โรคติดต่อนำโดยยุง ปกติวงจรชีวิตยุงใช้เวลาประมาณ 12-15 วัน แต่ภาวะโลกร้อนนี้วงจรชีวิตยุงหดสั้นลงใช้เวลาเพียงสัปดาห์กว่า ๆ เท่านั้น โดยอายุเฉลี่ย ยุงเพศผู้มีอายุเฉลี่ย 7 วัน ยุงเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 30 วัน
8. ศัตรู ยุง - ลูกน้ำ มีทั้ง แมลงปอ ค้างคาว แมงมุม ปลากัด ปลาหางนกยูง ตัวห้ำในน้ำ เช่น มวนกรรเชียง ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว ตัวอ่อนแมลงปอ มวนแมงป่องน้ำ
แล้วเราจะป้องกันโรคจากยุงได้อย่างไร
- ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
- ระบายน้ำไม่ให้เกิดน้ำขัง เพื่อลดประชากรยุง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพการไล่ยุงได้ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
แม้โดยส่วนใหญ่แล้ว เราอาจจะไม่ได้พบเจอกับยุงทุกสายพันธ์ในชีวิตประจำวัน แต่การหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองถูกยุงกัด หลีกเลี่ยงจากการเดินทางไปในพื้นที่ที่มียุงอยู่ชุกชุม หมั่นทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และรู้จักป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยุงโดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพนั้นก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ เพราะถ้าหากได้รับเชื้อจากยุงจนต้องได้เข้ารับการรักษาแล้ว นอกจากจะต้องเสียทรัพย์ เสียเวลาในการรักษาตัว ในรายที่ร้ายแรงยังอาจมีโอกาสเสียชีวิตอีกด้วย…แม้ต้นเหตุจะมาจากยุงเพียงตัวนิดเดียวก็ตาม
หากเราไม่ระมัดระวัง ปล่อยให้น้องยุงมากัด เราอาจจะเกิดความยุ่งยากในชีวิตตาม ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยง นอกเหนือจากที่เราจะทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงแล้ว เราก็ต้องมีประกันสุขภาพ เพื่อมารองรับ หากเราต้องเข้ารักษา เพราะมีน้องยุงเป็นต้นเหตุ ทุกท่าน สามารถมองหาประกันสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้รับมือกันไว้แต่ต้นๆ นะคะ หากท่านไหนสนใจ ลองเข้ามาเลือกดูความคุ้มครองต่างๆ ตาม Link นี้ได้เลยคะ
https://www.krungsribroker.com/health-insurance
แหล่งที่มา
https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/200
https://www.cheminpestcontrol.com/products/product-38
https://www.thaipbs.or.th/news/content/328319
เรียบเรียงบทความโดย : น้อง Fuku