• หน้าแรก
  • ผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชั่น
  • เพลินจิต
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
สุขภาพและความสวย

ใน “น้ำฝน” มีอะไรนะ ทำไมเปียกฝนแล้วต้องสระผม?

วันที่เผยแพร่: 01 ก.ย. 66

ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวัน แถมชอบตกตอนเลิกงานซะด้วย มนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็ต้องรอลุ้นว่าวันนี้จะเปียกฝนไหมนะ แล้วเคยได้ยินคนรอบข้างเตือนว่า " อย่าตากฝนนะ เดี๋ยวจะไม่สบาย " กันบ้างไหมคะ  วันนี้ กรุงศรี เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ ขอเชิญทุกคนมาไขข้อสงสัยว่า ทำไมเปียกฝนแล้วต้องสระผม ในน้ำฝนมันมีอะไรนะ พร้อมคำแนะนำด้านประกันสุขภาพ รับรองว่าเป็นประโยชน์กับทุกคนแน่นอนค่ะ ^^

 

 

เอ้ะ แล้วทำไมฝนชอบตกตอนเลิกงานทุกที เหมือนฟ้ากลั่นแกล้ง T^T แต่ความจริงแล้วมีเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ที่สามารถตอบคำถามนี้ได้ค่ะ

ข้อมูลจาก Climate Kids ระบุว่า ฝนมักตกในเขตพื้นที่ที่มีความร้อนสูงมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ นั่นคือชุมชนเมือง ซึ่งมีทั้งคอนกรีต ตึกสูง รถยนต์ แอร์ ซึ่งล้วนทำให้เกิดความร้อนสูง หรือเรียกว่า “เกาะความร้อน” (Urban Heat Island) และความร้อนนั้นมีผลกับฝน เมื่ออากาศภายนอกมาปะทะกับความร้อนในโซนชุมชนเมือง บวกกับอุณหภูมิเริ่มลดลงในช่วงเวลาประมาณบ่าย 3 โมง พระอาทิตย์เริ่มตกดิน ส่งผลให้ความชื้นถูกปล่อยออกมา กระทบกับอากาศที่เย็นเหนือบริเวณชุมชนเมืองที่มีความร้อน ก็จะกลั่นออกมาเป็นฝน ทำให้ฝนตกในช่วงเวลา 4-6 โมงเย็น ซึ่งตรงกับเวลาเลิกงานพอดีเลย >< แล้วสาเหตุที่น้ำฝนทำให้เราป่วยคืออะไร ไปหาคำตอบกันเลย!

 

 

ซึ่งสาเหตุหลักที่น้ำฝนทำให้เราป่วย เป็นเพราะในน้ำฝนมี ทั้งเชื้อโรค แบคทีเรีย และปรสิต มากมายอยู่นั่นเอง โดนฝนแค่นิดหน่อย ก็ไม่สบายแล้ว เป็นหวัดบ้าง หรือเป็นไข้หนักไปเลยก็มี ข้อมูลจาก common ได้อธิบายถึงเจ้าวายร้ายที่อยู่ในน้ำฝนทั้ง 5 ตัว ให้เราเข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้ค่า

 

1.  จุลินทรีย์ก่อโรค

 

เป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วระบบภูมิคุ้มกันของเราไม่อาจกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ทันการณ์ พวกมันจะฉวยโอกาสแพร่เชื้อเพื่อโจมตีร่างกายให้อ่อนแอลงจนล้มป่วยด้วยอาการของโรคต่างๆ ตามแต่ประเภทและชนิดของ ‘เชื้อก่อโรค’ (pathogen) ในน้ำฝน ซึ่งแบ่งออกเป็น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต 

หากนำภาชนะสะอาดไปรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาจากฟ้า แล้วเอามาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จุลินทรีย์ก่อโรคที่พบได้บ่อยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแบคทีเรีย และกลุ่มไวรัส แต่ถ้าเป็นน้ำฝนที่ตกใส่หลังคา ก่อนไหลลงมาตามรางน้ำที่ต่อท่อถึงภาชนะกักเก็บ ทำให้พบจุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มอีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเชื้อรา และกลุ่มปรสิต

ถึงแม้ว่าจุลินทรีย์ในอากาศที่ตกลงมากับฝนส่วนใหญ่ จะไม่เป็นอันตรายต่อตัวเรา แต่ก็ยังมีเชื้อก่อโรคแอบแฝงที่จำเป็นต้องรู้จักและระวังไว้ให้ดี คือ เชื้ออีโคไล และเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา...ขนลุกกันไปเลย ><

 

2.  เชื้ออีโคไล (Escherichia coli หรือ E.coli)

เป็นแบคทีเรียประจำถิ่นอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อช่วยย่อยอาหารและสนับสนุนการทำงานของลำไส้ แต่ถ้ามีจำนวนเชื้อมากเกินไป หรือร่างกายได้รับเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ก่อโรคจากน้ำและอาหารไม่สะอาด จะทำให้ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย และมีไข้ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 1-2 วัน

3.  เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus)

ต้นเหตุของไข้หวัดใหญ่ มักระบาดหนักในช่วงหน้าฝน ทำให้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลัน ที่สำคัญเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ ผ่านละอองน้ำลาย น้ำมูก และเสมหะด้วยวิธีไอและจาม อาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัด คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยตามร่างกาย และจะทุเลาลงภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้ากลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ทวีความรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้

แตกต่างจากฝนที่ตกลงหลังคา ยิ่งทำให้น้ำปนเปื้อนเชื้อโรคมากกว่า เพราะฝนจะชะล้างสิ่งสกปรกบนพื้นผิวลอนกระเบื้องหรือสังกะสีออกมาด้วย โดยเฉพาะเชื้อรา และปรสิตจากขี้ของสัตว์ที่ขับถ่ายของเสียทิ้งไว้

4. ราสนิม (Rust Fungi)

ตัวการที่ทำให้เกิดโรคในพืช มันจะกัดกินเซลล์พืช ทำลายทั้งใบและลำต้นไม่ให้สวยสดอย่างที่ควรจะเป็น เพราะเปลี่ยนใบไม้สีเขียวสดเป็นจุดสีน้ำตาลคล้ายสนิมเขรอะที่ขึ้นบนเหล็ก แค่สัมผัสเบาๆ ละอองเชื้อราจะติดนิ้วมาด้วย แม้แต่หยดน้ำฝน หากตกลงบนใบไม้ที่ติดเชื้ออยู่ ราสนิมจะกระเด็นไปยังต้นไม้ต้นอื่นที่อยู่ใกล้กัน และลุกลามไปยังทุกส่วนของต้นอย่างรวดเร็ว

 

5.  คริปโตสปอริเดียม (Cryptosporidium spp.)

 

เป็นปรสิตประเภทโปรโตซัว (Protozoa) อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของคนและสัตว์ แต่ทำอันตรายให้ร่างกายไม่ได้ ตราบใดที่ภูมิต้านทานของเรายังแข็งแรงดี ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติหรือบกพร่อง ซึ่งตกเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เพราะคริปโตสปอริเดียมจะกลายเชื้อฉวยโอกาสและทำให้ท้องร่วงรุนแรงทันที

 

อ่านจบแล้ว อาจทำให้รู้สึกกังวลไปบ้าง แต่ถ้าเราหมั่นดูแลสุขอนามัย และหลีกเลี่ยงไม่ให้เปียกฝน ก็เท่ากับลดความเสี่ยงไม่ให้ร่างกายสัมผัสเชื้อโรคได้นะคะ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ เมื่อกลับถึงบ้าน รีบอาบน้ำ สระผม ดูแลตัวเองและครอบครัวให้แข็งแรง สร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ปกป้องเราและครอบครัวจากโรคที่มากับฝนได้

 

 

แต่อนาคตหากเราเจ็บป่วย ประกันสุขภาพสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยไม่กระทบเงินออมที่เรามี ถึงแม้เรามีประกันสุขภาพจากสวัสดิการพนักงาน ก็อาจไม่เพียงพอ เพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้น แอดมินขอแนะนำ “แผนประกันสุขภาพขยายความคุ้มครอง (Top-up)” จากซันเดย์ ประกันภัย ช่วยเพิ่มความคุ้มครองครบทั้งนอนโรงพยาบาล (IPD) และหาหมอกลับบ้าน (OPD) เบี้ยเริ่มต้นเพียง 7,410 บาท* หรือหากเลือกแผนประกันสูงสุด จะได้รับผลประโยชน์สูงสุดต่อรอบปีกรมธรรม์สูงถึง 1,000,000 บาท* (ค่าเบี้ยขึ้นอยู่กับเพศ, อายุ และแผนประกันที่เลือก) และลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและซื้อออนไลน์

คลิกเลย >> https://www.krungsribroker.com/products/all-health-insurance?utm_source=kgib_website&utm_medium=header_menu&utm_campaign=health

 

ก่อนตัดสินใจทำประกัน แอดมินแนะนำให้ศึกษาแผนประกันอย่างละเอียด เช่น ความคุ้มครองที่จะได้รับ เงินชดเชย เบี้ยประกัน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ kgibsales@krungsri.com ทางเรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ สุขภาพดีเป็นลาภอันประเสริฐ แม้วันนี้ยังแข็งแรง แต่อนาคตไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าเราจะไม่ป่วย ทางที่ดีที่สุดคือการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงอย่างการทำประกันก่อนวันนั้นมาถึง ด้วยความเป็นห่วงนะ ^^

 

 

 

เขียนบทความโดย LADYNENA

 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆประกอบบทความจาก:

https://www.pptvhd36.com

https://becommon.co

https://assetwise.co.th

https://news.mit.edu

https://www.vichaiyut.com

https://www.popsci.com

https://news.mit.edu