ไข้เลือดออก โรคยอดฮิตเจอกันได้ทุกปี! ป้องกันอย่างไรดีนะ
ขณะที่เรากำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในตอนนี้ วันนี้ทาง เพลิน.จิต ตามติดชีวิต อินเทรนด์ จะมาเล่าถึงภัยร้ายใกล้ตัวอีกโรคหนึ่งที่เรารู้จักกันมานาน และมีข่าวการแพร่ระบาดและข่าวการสูญเสียให้ได้ยินทุก ๆ ปี ในปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค นั่นก็คือ “โรคไข้เลือดออก“ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี” (Dengue Virus) โดยมียุงลายตัวเล็ก ๆ เป็นตัวพาหะนำโรค เพื่อน ๆ คงได้ยินข่าวของโรคนี้กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ทราบหรือไม่ว่าโรคนี้มีความอันตรายและน่ากลัวแค่ไหน สาเหตุและอาการเป็นอย่างไร รวมถึงเราจะป้องกันให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้อย่างไรบ้าง วันนี้ทางแอดมินจะอธิบายให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับโรคนี้มากขึ้นค่ะ
จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563 พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกจำนวน 71,293 ราย และเสียชีวิต 51 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ นครสวรรค์ ชลบุรี กรุงเทพฯ แม่ฮ่องสอน และนครปฐม ตามลำดับ และมักระบาดยอดฮิตช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคใต้ เนื่องจากภาคใต้ประสบปัญหาน้ำท่วม ขณะที่น้ำลดลง อาจมีน้ำขังตามภาชนะหรือวัสดุ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ทำให้เสี่ยงเกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งจังหวัดทางภาคใต้ที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ พังงา สงขลา ยะลา ตรัง และนราธิวาส (1)
โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever หรือ dengue shock syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่ม flavivirus และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ โดยเชื้อไวรัสนี้ติดต่อในคน โดยการถูกยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือด มีทั้งยุงลายบ้าน (มักวางไข่ในภาชนะซึ่งมีน้ำในบ้าน) และยุงลายสวน (มักวางไข่ในที่ที่มีน้ำขังนอกบ้าน) เชื้อไวรัสเดงกีนี้มีระยะฟักตัวในยุงลายประมาณ 8-10 วัน หลังจากที่ถูกกัดจะมีระยะฟักตัวในคนประมาณ 5-8 วัน หลังจากติดเชื้อชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดแต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อชนิดอื่นในช่วงสั้น ๆ หลังจากนั้นสามารถติดเชื้อชนิดอื่นได้อีก ดังนั้น หากเคยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นได้อีก ในอดีตโรคไข้เลือดออกนี้มักพบกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ได้มากขึ้น และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 25-34 ปี
อาการของโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก อาจจะแสดงอาการไข้เพียงอย่างเดียว ซึ่งในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง (โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา) ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยล้าตามตัว ปวดที่กระบอกตา อาจมีผื่นแดงขึ้น และบางคนอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร โดยปกติผู้ป่วยมักไม่มีอาการไอหรือน้ำมูก
ระยะของโรค แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะแรก (ระยะไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส)
ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงร่วมกับอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ระยะนี้ที่จะใช้เวลาราวประมาณ 3-7 วัน เมื่อได้รับยาลดไข้ ไข้ก็จะลง หลังจากหมดฤทธิ์ยา ไข้ก็จะกลับสูงขึ้นอีก ผู้ป่วยอาจดูซึมลง รับประทานอาหารได้น้อยลง คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ หรือมีอาการท้องผูกถ่ายเหลว ระยะนี้เป็นระยะที่ตรวจพบไวรัสเดงกีในเลือด และถ้ายุงมากัดผู้ป่วย ยุงก็จะเป็นพาหะของโรคต่อไป - ระยะวิกฤติ (ระยะ 3 วันอันตราย อาจเสี่ยงกับอาการช็อคได้)
เป็นระยะที่ผู้ป่วยมักมีไข้มาแล้วหลายวัน ในผู้ป่วยบางคนหลังไข้ลงแล้วจะเข้าสู่ระยะนี้ ซึ่งจะมีการรั่วของน้ำเหลืองออกนอกเส้นเลือด ทำให้มีอาการเหมือนสูญเสียของเหลวหรือเลือดจากร่างกาย ทำให้มีความดันเลือดต่ำ อาจเกิดอาการช็อค จะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น เด็กบางคนจะดูตัวลาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้มีอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ในระยะนี้ผู้ป่วยบางคนอาจมีเลือดออกมาก (โดยเฉพาะจากทางเดินอาหาร) ทำให้เกิดอาการช็อกได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นระยะที่รุนแรง หากไม่รีบทำการรักษามีอันตรายถึงชีวิต! ระยะนี้โดยทั่วไปจะใช้เวลาราว 1-2 วัน - ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่หลัง ระยะไข้สูงจะเข้าสู่ระยะนี้ทันที บางคนถ้าเข้าสู่ระยะวิกฤตแล้ว 1-2 วัน ก็จะเข้าสู่ระยะนี้ โดยเกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ดีขึ้น ปัสสาวะเริ่มออกมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองที่เคยซึมรั่วไปอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ มีผื่นแดงที่มีวงขาวขึ้นตามตัว มีอาการคันตามตัวและฝ่ามือฝ่าเท้า ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้ป่วยกำลังจะหายจากโรคและเป็นระยะปลอดภัย โดยร่างกายจะค่อย ๆ พื้นฟูภายใน 2-3 วัน
วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก
ต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกแห่งในบ้านและรอบบริเวณบ้าน เพราะยุงลายจะวางไข่ในน้ำนิ่ง เช่น น้ำขัง ในที่ต่าง ๆ ใช้หลักการง่าย ๆ ตามมาตรการปราบยุงลายใช้ "3 เก็บ 3 โรค" เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย ดังนี้
- เก็บบ้านให้สะอาด เก็บเสื้อผ้าให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดมุมอับให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้เป็นที่พักของยุงลาย
- เก็บขยะ รอบบ้าน เก็บเศษภาชนะใส่อาหาร หรือแก้วน้ำดื่ม พื้นที่น้ำขัง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำต้องปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ ทำลายภาชนะต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งน้ำขัง เปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ หรือ การใช้ทรายอะเบท หรือ เกลือใส่ในน้ำ เพื่อทำลายลูกน้ำยุงลาย ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่
*3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
การป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
ลักษณะของยุง จะมีสีดำ มีลายขาวที่ขา ท้องและลำตัว เป็นยุงขนาดเล็ก ชอบอยู่กับคนในบ้านตามมุมมืดของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ออฟฟิศ หรือสถานที่ต่าง ๆ ก็จะมาป่วนเราทุกหนทุกแห่งและมักชอบออกหากินในเวลากลางวัน โดยมีการป้องกัน ดังนี้คือ
- นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด หรืออยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ
- จุดยากันยุงหรือใช้ยาทาหรือยาฉีดกันยุง อย่างระมัดระวัง
- หมั่นอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเพราะเหงื่อจะดึงดูดให้ยุงกัดมากขึ้น
ถ้ามีประกันสู้! ยุง จะดีกว่าไหมนะ
อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ในความไม่แน่นอน หากเราป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นมาจริง เราจะทำยังไงกันดี? แน่นอนว่า หากท่านมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นของสวัสดิการของบริษัท หรือประกันสังคมก็จะเข้ามาช่วยในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ เนื่องด้วยค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลในปัจจุบันนี้ ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี หากถ้าเรามีประกันสู้ ยุง ลักษณะที่เจอ จ่าย จบ ทันที ! เมื่อตรวจเจอโรคไข้เลือดออก เข้ามาปลอบขวัญเราและลดค่าใช้จ่ายของเรา คงทำให้เราอุ่นใจได้ไม่น้อยเลย
วันนี้ ทางแอดมิน เพลิน.จิต ตามติดชีวิตอินเทรนด์ มีแบบประกันที่จะมาแนะนำเพื่อน ๆ กัน คือ ประกันสู้! ยุง Happy Fighter ไฟท์กับเจ้ายุงลายตัวจิ๋ว เจอ จ่าย ทันที ! เมื่อตรวจเจอไข้เลือดออก ของบริษัท ไทยประกันประกันภัย จำกัด (มหาชน) จ่ายเบี้ยเพียงหลักร้อย คุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาท เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 290 บาทต่อปี โดยมีระยะเวลารอคอยหลังจากวันเริ่มคุ้มครองเพียงแค่ 30 วัน หากเพื่อน ๆ ซื้อประกันนี้จะยังไม่คุ้มครองเลยทันทีนะคะ ต้องมีระยะเวลารอคอย 30 วัน..ถึงจะคุ้มครองน้า เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือซื้อออนไลน์ได้เลย โดยรับกรมธรรม์ประกันภัยทันที คลิกที่นี่เลย >> https://uchoose.app.link/6uzFs2o7heb
อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจทำประกัน เพื่อน ๆ ควรศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง ทุนประกันภัยของแผนประกันให้ดีเสียก่อน หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับบริษัท กรุงศรี เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัดได้ที่ Email : kgibsales@krungsri.com ในครั้งถัดไป ทางแอดมินจะมีอะไรมานำเสนอ หรือโปรโมชั่นเด็ด ๆ มาแนะนำกันอีก อย่าลืมเพื่อน ๆ ติดตามและให้กำลังใจเราด้วยนะคะ
(1) วันที่เข้าถึงข้อมูล วันที่ 5 มีนาคม 64 (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://thairath.co.th/news/local/south/2013139