• หน้าแรก
  • ผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชัน
  • เพลินจิต
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
สุขภาพและความสวย
เรื่องเงินๆทองๆ

ส่องเคล็ดลับ “ชีวิตติดแกลม” แบบเงินในบัญชีไม่ติดลบ

วันที่เผยแพร่: 01 ก.ย. 67

เพราะชีวิตเรานั้นมีค่า…(ใช้จ่าย) มากมาย ทั้งค่าน้ํา ค่าไฟ ค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าทริป ค่าช้อปปิ้ง เยอะแยะมากมาย หมุนเงินจนหัวหมุน จะรอถูกหวยรางวัลที่ 1 แล้วรวยเลย ความน่าจะเป็นมีเพียง 0.0001 % หรือหนึ่งในล้านเอง :D ถ้าเราได้ใช้ชีวิตแบบที่เราอยากใช้ อยากได้อะไรก็ซื้อ อยากไปเที่ยวที่ไหน ก็ไป และยังบริหารจัดการเงินสดของเราได้ดี Cash flow ไหลลื่น ชีวิตก็แฮปปี้ว่ามั้ยคะ > < วันนี้แอดมิน LEDYNENA จาก กรุงศรี เจเนอร์รัล อินชัวร์รัน โบรคเกอร์ จะพาทุกคนตรวจเช็คสภาพคล่องทางการเงินในกระเป๋าของเรา และให้คำแนะนำวิธีบริหารจัดการเงินง่าย ๆ แบบที่ทุกคนทำได้ พร้อมตัวช่วยในการบริหารการใช้เงิน เพื่ออนาคตการเงินที่ดีกันค่ะ <3

แล้วชีวิต “ติดแกลม” นี่มันเป็นยังไงนะ ? คำว่า “ติดแกลม” มาจากคำว่า “Glamorous” แปลว่า สวย งาม มีสเน่ห์ พูดถึงคนที่ใช้ชีวิต “ติดสวย ติดหรู ติดของแพง” ทั้งแต่งตัวแพง เที่ยวหรู ดั่งมาดาม บิน first class และอิ่มหรู ร้าน Fine Dining นั่นเองค่า

แต่ ๆๆ เดี๋ยวก่อน การใช้ชีวิตลักชูอย่างมีความสุขในปัจจุบันนั้นทำได้ แต่ต้องไม่เป็นทุกข์ในอนาคตนะคะ การบริหารจัดการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ ช่วงนี้เราเห็นข่าวคนไทยกำลังเจอปัญหาวิกฤติหนี้ครัวเรือนสูง เกิน 90% ต่อจีดีพี ส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลไม่ก่อให้เกิดรายได้ เงินที่มีก็หมดก่อนถึงวัยเกษียณ ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย ทีนี้เรามาลองศึกษาวิธีบริหารจัดการเงินกันค่ะ

วิธีบริหารจัดการเงินแบบง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้

1.   ประเมินฐานะการเงินที่แท้จริง จาก “ความมั่งคั่งสุทธิ” 

  • สินทรัพย์ - หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ

2.   จดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน เพื่อรู้พฤติกรรมการใช้จ่ายของเรา

  • รายรับ - เงินออม - รายจ่าย = เงินเหลือใช้/ เงินขาดมือ

3.   ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ตามหลัก SMART

      S = Specific ชัดเจน

      M = Measurable วัดผลได้

      A = Accountable ทำสำเร็จได้จริง

      R = Realistic = สามารถบรรลุผลได้

      T = Time Bound มีกำหนดเวลา

      แบ่งย่อยเป้าหมายออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ค่ะ

  • เป้าหมายระยะสั้น (Short-term Goal) คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 1 ปี เช่น ต้องการออมเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือราคา 39,000 บาท ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
  • เป้าหมายระยะกลาง (Intermediate-term Goal) คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 2-5 ปี เช่น ต้องการออมเงินจำนวน 300,000 บาท เพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทในอีก 2 ปีข้างหน้า
  • เป้าหมายระยะยาว (Long-term Goal) คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี เช่น ต้องการออมเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อใช้ในวัยเกษียณอีก 25 ปีข้างหน้า

 

4.   จัดทำแผนการเงิน

จากข้อที่ 1 หลักจากรู้ ความมั่งคั่งสุทธิ และรายรับรายจ่าย แล้ว จึงทำแผนการเงินต่อ เช่น จะหารายได้เพิ่มทางไหนดี หรือนำไปลงทุนอย่างไรให้งอกเงย และยังรวมถึงการบริหารจัดการหนี้สินที่เรามีด้วยเช่นกันค่ะ

5.   สำรวจหนี้สิน

“ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 2567 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 91.4% ต่อ GDP โดยหนี้บัตรเครดิต ลีสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล โตเร็วสุดในรอบ 10 ปี” ….เราเป็นหนึ่งในนั้นใช่ไหมนะ > < ในขั้นตอนทำแผนการเงิน การทำตารางสำรวจภาระหนี้สิน ที่เรามี จำเป็นมาก ๆเลยค่ะ เพราะทำให้รู้ว่าหนี้ก้อนไหนจำเป็น ก้อนไหนไม่จำเป็น อาจเป็นปัญหาในอนาคต เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เรามาเริ่มสำรวจกันเลยดีกว่า

รายละเอียดของหนี้สินที่ต้องนำมาแจกแจงประกอบด้วย

  1. ประเภทของหนี้ เช่น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้รถจักรยานยนต์ หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้ผ่อนชำระสินค้า หนี้นอกระบบ
  2. หลักประกันสินเชื่อ หรือสินทรัพย์เช่าซื้อ เช่น เงินสด สลากออมทรัพย์ บ้าน อาคาร ที่ดิน รถยนต์
  3. เจ้าหนี้ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทลิสซิ่งเช่าซื้อ เจ้าหนี้นอกระบบ หรือผู้ให้ยืมเงิน เช่น ญาติ เพื่อน เพื่อให้ง่ายต่อการหาข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ หรือการหาข้อมูลเพื่อติดต่อขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากมาตรการหรือเงื่อนไขในการช่วยเหลือ ลูกหนี้ของแต่ละสถาบันการเงินอาจมีความแตกต่างกัน ส่วนเจ้าหนี้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบสถาบันการเงิน ต้องบันทึกไว้เพื่อกันลืมเพื่อจะได้ขอเจรจาหรือวางแผนจัดการหนี้สินต่อไป
  4. ยอดหนี้คงเหลือทั้งหมด
  5. อัตราดอกเบี้ย สามารถดูได้จากสัญญาการกู้ หรือใบแจ้งหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และตรวจสอบให้เป็นหน่วยเดียวกันเพื่อให้สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เช่น เปอร์เซ็นต่อปี
  6. จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน เพื่อให้ได้เห็นภาระการผ่อนหนี้ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งจำนวนเงินที่ผ่อนชำระในแต่ละเดือนยังสามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการคำนวณจำนวนเงินออมเผื่อฉุกเฉินหรือใช้เพื่อจัดทำแผนใช้เงินได้

หลังจากแจกแจงข้อมูลแล้ว เราจะเห็นภาพรวมของยอดหนี้ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนเพื่อจัดการหนี้สินได้ โดยเริ่มต้นจากการจัดประเภทและเรียงลำดับหนี้สิน 

1) หนี้ระยะสั้น เช่น หนี้สินที่มียอดคงเหลือน้อย หรือมีดอกเบี้ยสูง เพื่อช่วยประหยัดเงินที่ใช้ในการจ่ายดอกเบี้ย โดยหนี้เหล่านี้อาจแก้ไขได้โดยการขายทรัพย์สินมาโปะหรือปิดหนี้ เพื่อให้เรามีกำลังใจในการจัดการหนี้ได้อีกด้วย
2) หนี้ระยะยาว เช่น หนี้สินที่มียอดคงเหลือมาก มีระยะเวลาผ่อนชำระนาน ไม่สามารถขายทรัพย์สินเพื่อมาโปะหรือปิดหนี้ได้ เช่น หนี้เช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ หนี้ที่อยู่อาศัย

 

จากนั้นเรียงลำดับตามยอดหนี้คงเหลือทั้งหมด จากน้อยไปหามาก หรือเรียงลำดับตามดอกเบี้ยและยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนจากมากไปหาน้อย เพื่อเตรียมปิดยอดหนี้ตามความสามารถของเรา…

“การเป็นหนี้” ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะแต่ละคนมีเหตุผลและความจำเป็นในชีวิตที่ต่างกัน ทำให้เราต้องกู้เงินเพื่อซื้อทรัพย์สิน ยอมเป็นหนี้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ถ้าเราวางแผนและมีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่ขัดสน

6. ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด

เมื่อวางแผนแล้ว ถึงเวลาลงมือทำด้วยความมุ่งมั่นและมีวินัย จริงจังและต่อเนื่อง

7. ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์

ตรวจสอบแผนที่เราวางไว้ อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 6 เดือน ถ้าไม่เป็นตามแผน หาสาเหตุ แล้วปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 

 

ต่อให้เราบริหารจัดการเงินได้ดีตามแผนที่วางไว้ การเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน ก็ยังจำเป็นนะคะ

  • มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 3 - 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็น และภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน
  • พิจารณาเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง
  • หาตัวช่วยในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ทั้งก้อนเล็ก ก้อนใหญ่ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดี กู้เท่าที่จำเป็น เช่น การเปลี่ยนวงเงินบัตรเครดิต กรุงศรี เป็นเงินสด ด้วยฟีเจอร์ U CASH จากแอป UCHOOSE
  • ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ไม่ว่าจะวัยไหนก็ต้องวางแผนการเงิน ยิ่งเราอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ อย่างค่ารักษาพยาบาลก็สูงขึ้นตาม โดยเฉพาะค่ารักษาก้อนใหญ่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว นอกจากวางแผนการเงินล่วงหน้าแล้ว เราจำเป็นต้องมีประกันสุขภาพไว้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ แอดมินขอแนะนำ “ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายราคาประหยัด” จาก ซันเดย์ ประกันภัย เบี้ยเริ่มต้นเพียงไม่ถึงวันละ 20 บาท *ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน เบาใจเรื่องค่ารักษา และค่าห้องผู้ป่วยใน คุ้มครองเหมาจ่ายแบบ IPD ตั้งแต่บาทแรก

 

***ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท***

**ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน**

คลิกเลย >> https://ptn.easysunday.com

 

ก่อนตัดสินใจทำประกัน แอดมินแนะนำให้ศึกษาแผนประกันอย่างละเอียด เช่น ความคุ้มครองที่จะได้รับ เงินชดเชย เบี้ยประกัน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ kgibsales@krungsri.com ทางเรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ ^^

 

 

เขียนบทความโดย LADYNENA

 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆประกอบบทความจาก:

https://www.bot.or.th

https://www.bot.or.th

https://www.tnnthailand.com

https://policywatch.thaipbs.or.th

https://www.thairath.co.th

https://www.tba.or.th

https://www.bot.or.th