• หน้าแรก
  • ผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชั่น
  • เพลินจิต
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
ท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์

8 วิธี เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ Crowd Crush

วันที่เผยแพร่: 16 ธ.ค. 65

สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ต้องยอมรับเลยว่าเทศกาลคอนเสิร์ตที่จัดในบ้านเรามีแทบจะทุกเดือนเลยก็ว่าได้ ซึ่งเราเองก็อาจจะประเมินไม่ได้ว่าจำนวนคนในแต่ละคอนมากน้อยแค่ไหน นอกเหนือจากคอนเสิร์ตแล้วที่ที่มีความเสี่ยงที่สุดเลยก็น่าจะเป็นสถานบันเทิงตามสถานที่ต่างๆ

 

เหตุการณ์น่าเศร้าสลดที่เราทุกคนก็รับรู้กันดี นั้นก็คือ เหตุการณ์ที่อินแทวอน ภาพที่เห็น คือเทศกาลฮาโลวีน ที่มีฝูงคนแออัด ไปรวมสังสรรค์กันเป็นประจำทุกปี เป็นเทศกาลที่ต่างชาตินิยมไปท่องเที่ยวกันเยอะมากๆค่ะ ถ้าพอจะเทียบกับบ้านเราก็คงเป็น เทศกาลสงกราน์ที่สีลม หรือเคาท์ดาวน์เซ็นทรัลเวิลด์ประมาณนั้นนะคะ

พอได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แอดก็หยุดคิดไม่ได้.....ถ้าเราหรือคนที่เรารักไปอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว จะเอาตัวรอดได้อย่างไร? เพราะเราเองคงไม่สามารถทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ใช่ไหมล่ะคะ?

 

วันนี้แอดเลยขอมาแชร์ 8 วิธี การเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ที่มีฝูงชนหนาแน่นเสมือนเหตุการณ์ อินแทวอน กันค่ะ

ข้อแรกเลยนะคะ พยายามลืมตาสอดส่องเส้นทาง

แอดว่าเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของทุกคนเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว คือการออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุดใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้น ต้องใจเย็นๆ และพยายามมองหาทางไปต่อ ไม่ว่าจะย้อนกลับทางเดิม หรือไปต่อข้างหน้า พยายามคาดเดาว่า จุดศูนย์กลางของการเบียดกัน หรือง่ายๆนะคะ ที่ที่คนรวมตัวกันอยู่เยอะที่สุดคือจุดไหน (หากเป็นไปได้) ให้เคลื่อนไปทางที่ผู้คนเบาบาง หรืออาจหาทางปีนขึ้นไปอยู่บนขอบกำแพงแทนก็ได้ค่ะ

 

ข้อ 2. เมื่อรอบตัวเริ่มเบียดกันมากขึ้น ให้ออกห่างจากจุดนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ค่ะ

ยิ่งรออยู่จุดเดิมนาน ยิ่งยากที่จะเคลื่อนตัวออกมาได้ ดังนั้น อย่าลังเลที่จะออกจากบริเวณที่แออัดทันทีที่เริ่มรู้สึกไม่สบายใจ และในขณะที่ยังมีที่ว่างพอที่จะเคลื่อนไหว จะช่วยลดอันตรายให้กับผู้อื่นได้ เพราะพื้นที่จะแออัดน้อยลงสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในจุดนั้นค่ะ

 

ข้อ 3 พยายามยืนตั้งมั่นไว้ 

หากมันสายเกินกว่าจะหนีออกจากจุดนั้น พยายามยืนตั้งมั่นรักษาบาลานซ์ให้ดีนะคะ เพราะในเหตุการณ์แบบนี้ คนจะเบียดกันแน่นมากชนิดที่ว่า หากมีคนล้มลง ก็จะกลายเป็นโดมิโน่เอฟเฟกต์ทันที ดังนั้น หากเราล้มลงปุ๊บ น้ำหนักของคนอื่นๆ ก็จะตรึงเราไว้กับที่ ทำให้เราลุกขึ้นไม่ได้ และเสี่ยงต่อการโดนเหยียบจนเสียชีวิตได้ด้วยค่ะ

ข้อ 4. พยายามสูดลมหายใจเข้า

ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายเราอย่างยิ่งนะคะ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เหยียบกันตายส่วนมากเกิดจากการขาดอากาศหายใจ ใจเย็นตั้งสติ และเพื่อควบคุมการหายใจให้ดีหลีกเลี่ยงการกรีดร้องนะคะ (ยกเว้นแต่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องส่งเสียง)

 

ข้อ 5. ใช้แขนตั้งการ์ดกันบริเวณทรวงอก

หากการเบียดกันเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ให้ยกแขนขึ้นมากันบริเวณทรวงอก (คล้ายๆ กับการตั้งการ์ดของนักมวย) เพื่อป้องกันกระดูกซี่โครง แต่ต้องไม่ตั้งการ์ดชิดกับอกจนเกินไปค่ะ ควรเว้นห่างไว้ 2-3 เซนติเมตร เพื่อให้เราสามารถหายใจได้ด้วยนะคะ

ข้อ 6. ไหลไปตามฝูงชน อย่าฝืน

เป็นเรื่องธรรมดาที่หากมีการดันไปอีกทาง ผู้คนมักจะฝืนดันกลับเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ แต่ต้านทานไปก็เสียแรงเปล่าค่ะ ดังนั้น จึงควรปล่อยตัวเองให้ไหลไปตามทิศทางที่ฝูงชนเคลื่อน พร้อมกับรักษาบาลานซ์ของร่างกายให้มั่นคงไปพร้อมๆกันด้วย

 

ข้อ 7. พยายามออกห่างจากสิ่งกีดขวาง

เทคนิคก่อนหน้านี้อาจใช้ไม่ได้ผล หากที่ที่เราอยู่นั้นใกล้ชิดกับกำแพง รั้ว หรือวัตถุแข็งอื่นๆ ที่เราปืนขึ้นไปไม่ได้ เพราะว่าที่แอดได้เห็นข่าวมา ผู้เสียชีวิตรายแรกๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการเบียดกันจนเสียชีวิต ก็มาจากการถูกอัดเข้ากับกำแพง ถ้าเราไม่สามารถปีนกำแพงโดยเกิดจากมันใกล้เกินหรือไม่มีที่ยึดเหนียวให้สามารถปีนได้ แอดมองว่าให้พยายามอยู่ห่างจากกำแพงไปเลยก็ได้ค่ะ

 

ข้อ 8. ประเมินความหนาแน่นของฝูงชนให้ออก

แอดมีเทคนิคการประเมินจะมาบอกกันค่ะ เรามาแบ่งคร่าวๆ กันก่อนนะ

·       หากไม่มีการสัมผัสทางกายภาพกับคนรอบข้าง ความหนาแน่นน่าจะยังน้อยกว่าสามคนต่อตารางเมตร ดังนั้น แอดให้ทุกท่านถือว่า ทุกอย่างปกติดี

·       หากกำลังชนกันกับคนรอบตัว 1-2 คนโดยไม่ได้ตั้งใจ ความหนาแน่นของฝูงคนจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 คนต่อตารางเมตร แอดให้ทุกท่านประเมินว่ายังไม่มีอันตรายในทันที แต่ควรเริ่มหาทางออกจากศูนย์กลางของความแออัดได้แล้วนะคะ

·       หากไม่สามารถขยับมือได้ จนถึงขั้นเริ่มยกมาแตะหน้าตัวเองก็ไม่ได้ แอดให้ประเมินไว้เลยค่ะว่า คนแออัดมากเกินไป และกำลังจะเกิดอันตรายขึ้น

แอดขอแนะนำเพิ่มเติมว่า หากเป็นกรณีที่ฝูงคนอยู่ในอาการแพนิก ถือเป็นเรื่องอันตรายเกินกว่าจะคาดเดาได้ ให้พยายามตั้งสติให้ดี และหาทางออกให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ

 

แอดขอหยิบข้อแนะนำของ จอห์น ดรูวรี (John Drury) นักจิตวิทยาจาก University of Sussex เค้าให้ความเห็นว่า ฝูงชนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีโอกาสจะรอดมากกว่าฝูงชนที่ต่างคนต่างเอาชีวิตรอด ดังนั้น ในขณะที่สามารถทำได้ การช่วยเหลือผู้คนโดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบาง จึงเป็นประโยชน์กับทุกคน (แต่ย้ำนะคะว่า ต้องให้ตัวเองอยู่ในจุดที่ไม่เสี่ยงอันตรายจนเกินไปด้วยค่ะ)

อย่างที่แอดได้บอกไปข้างต้นนะคะว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เชื่อว่าถ้าเรามีความพร้อม มีการเตรียมตัวที่ดี เราจะสามารถรอดชีวิตหรือสามารถช่วยเหลือผู้คนได้ไม่มากก็น้อยค่ะ แต่นอกเหนือการเอาชีวิตรอดแล้ว สิ่งที่แอดแนะนำและเป็นเรื่องที่ทุกท่านควรตระหนัก คือตัวเราเองมีแผนรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นยังไงได้บ้าง?

 

แล้วอะไรคือแผนรับมือ แอดมองว่าถ้าเราทุกคนอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวหากเราเอาตัวรอดได้แล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นหลังจากเอาตัวรอด เช่น หกล้ม ถูกกระแทกจากฝูงคนหรือกระแทกกับของแข็งรอบตัว แอดมองว่าเจ็บตัวแล้ว แต่เราต้องไม่ลำบากกระเป๋าสตางค์ หรือเอาเงินอนาคตมาใช้จ่ายในการรักษาตัวนะคะ

 

วันนี้แอดเลยมีแผนสำรองที่แอดเองก็มีไว้ทั้งครอบครัวมาแนะนำ คือ ประกันอุบัติเหตุ ต้องบอกว่ากว่าเราจะหาประกันอุบัติเหตุที่ความคุ้มครองตอบโจทย์นั้นไม่ง่าย และยิ่งเศรษฐกิจปัจจุบันจะใช้จ่ายอะไรต้องคิดแล้วคิดอีกยิ่งแม่ลูกสองค่าใช้จ่ายบานตะไทแบบแอดแล้ว เบี้ยประกันต้องคุ้มค่าและเหมาะสมความคุ้มครอง ซึ่งหากจะหาความคุ้มครองทีเลือกได้ตามใจเรา แอดขอแนะนำประกันภัยอุบัติเหตุจาก บริษัทชับบ์ สามัคคีประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรเนื่องจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาล หากต้องรักษาตัวและจำเป็นต้องหยุดงานก็มีความคุ้มครองชดเชยรายได้ ยิ่งตอนนี้ซื้อง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆได้สบายแล้วค่ะ 

แอบกระซิบเบี้ยเริ่มต้นแค่ 299 บาท/ปี เอง.....สนใจคลิก >> https://bit.ly/3EvDPMs นี่แหละค่ะแผนสำรองที่ดีที่สุดมีไว้ไม่ได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มีนะคะ

 

เขียนบทความโดย MAELUKSONG

ขอบคุณข้อมูลดี ๆประกอบบทความจาก:

https://www.tnnthailand.com/news/social/129073/

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2539691

https://news.trueid.net/detail/Xkqo3JmgW7pQ