• หน้าแรก
  • ผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชัน
  • เพลินจิต
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
สุขภาพและความสวย

โรคเสี่ยงของผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม!!

วันที่เผยแพร่: 01 มี.ค. 66

เมื่ออายุย่างเข้าสู่เลข 5 หลาย ๆ คนต้องรู้สึกว่า ร่างกายเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และอื่น ๆ ที่มีโอกาสเสื่อมสภาพลงไป และอาจถดถอยลงไม่เหมือนตอนสมัยหนุ่ม ๆ สาว ๆ แม้เราจะดูแลตัวเองดีแค่ไหน ปัญหาสุขภาพในด้านโรคภัยไข้เจ็บของคนวัยนี้ก็เป็นเรื่องที่ห้ามกันได้ยากอยู่ดีใช่ไหมคะ?

 วันนี้ทางแอดมิน NANA เพลิน.จิต ตามติดชีวิตอินเทรนด์ของ กรุงศรี เจเนอร์รัล อินชัวร์รัน โบรคเกอร์ จะมีวิธีการในการตรวจเช็กร่างกายรวมถึงวิธีสังเกตุอาการคุณพ่อคุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของเรากันค่ะ เผื่อเราจะได้ดูแลท่านตั้งแต่เนิ่น ๆ  และสู่การดูแลรักษาที่ทันท่วงที บางทีบทความนี้อาจช่วยลดความรุนแรง ความบรรเทา หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคเลยก็อาจเป็นได้ โดยแอดมิน NANA ขออ้างถึง 7 โรคที่มักพบบ่อยที่อาจเจอในผู้สูงอายุ โดยมีดังนี้ค่ะ 

1. โรคทางระบบประสาทและสมอง

มากันด้วยโรคที่ 1 สำหรับผู้สูงอายุมีความเสี่ยงการเกิดโรคทางสมองมากขึ้น โดยโรคทางสมองที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้ค่ะ

โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ด้วยอายุที่มากขึ้น อาจทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลงไป ผิวชั้นในของผนังหลอดเลือดด้านในอาจจะหนาหรือแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันหรือหินปูนมาเกาะ ทำให้เส้นเลือดแคบลงส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง โดยมักพบมากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ควบคุมอาการได้ไม่ดี ภาวะเครียด การขาดการออกกำลังกาย และสูบบุหรี่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย

อาการเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน : 

  • ปวดหัว หรือเวียนหัว
  • เหนื่อยง่าย
  • อาจมีอาการของโรคแทรกซ้อน เช่น อัมพาต หรือ มีภาวะหัวใจ

และ โรคทางสมองและประสาท อีกโรคนั่นก็คือ 

โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ อาจพบสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์มากที่สุด!! เกิดจากการตายของเซลล์ในสมองหรือเซลล์ในสมองหยุดทำงาน จึงมีผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลง หากสมองเสื่อมตัวมากขึ้นหรือไม่ได้รับการรักษา จะทำให้การเสื่อมของสมองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงจน  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เลย

อาการเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ : 

  • อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา
  • สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้นๆ ได้อย่างไร
  • จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ
  • ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก
  • มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ การดูนาฬิกา
  • มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว
  • ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น
  • ซึมเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล

2. โรคหัวใจขาดเลือด

โรคนี้ 2 คือ เกิดจากหลอดเลือดแข็งตัว เพราะมีไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง จนปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงนอกจากอายุที่มากขึ้น เพศ และประวัติครอบครัวแล้ว ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จะมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน อาหารการกิน และการขาดการออกกำลังกายอีกด้วย

อาการเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด : 

  • อาการเจ็บแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด

3. โรคทางกระดูก

โรคที่ 3 นี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ และมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุอย่างมาก พออายุมากความแข็งแรงของร่างกายลงลง ความแข็งแรงของกระดูกก็ลดลงด้วยเช่นกัน โดยโรคกระดูกที่ผู้สูงอายุเสี่ยง ได้แก่ โรคกระดูกพรุน และ โรคข้อเสื่อม โดยโรคข้อเสื่อมพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้ค่ะ

  1. โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงผู้สูงอายุ มีสาเหตุสำคัญจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน เป็นภาวะที่กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง ทำให้กระดูกบางและเปราะหักง่ายขึ้น อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อยๆ เกิดขึ้นโดยที่ไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือหรือเริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น
  2. โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการใช้ข้อเข่ามานาน การรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป มักพบในผู้หญิงสูงอายุมากกว่าผู้ชาย ซึ่งข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ โดยความเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ แต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากยังมีพฤติกรรม หรือการใช้งานข้อเข่าเช่นเดิมโดยไม่ได้รับการรักษา โดยอาการของโรคนี้ที่พบคือ การเจ็บปวดของข้อและข้อบวม อาการข้อขัด หรือรูปร่างขาโก่งผิดปกติ เหยียดขาได้ไม่สุด ข่อเข่าผิดรูป หรือขาโก่ง

อาการเสี่ยงของโรคทางกระดูก : 

  • มีอาการปวดหลัง หรือปวดจากล้ามเนื้อรอบๆ
  • เคลื่อนไหวได้ลดลง
  • มีอาการปวดร้าว ขา หรืออ่อนแรงตามแนวเส้นประสาท

4. โรคตา

นอกจากกระดูกจะเสื่อมสภาพลงแล้ว ตาของผู้สูงอายุก็มีความเสื่อมตามไปด้วย โดยโรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน เป็นต้น แม้จะเกิดจากหลายสาเหตุ และมีอาการที่แตกต่างกัน แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อม เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลงค่ะ

5. โรคเบาหวาน

อีกโรคยอดฮิตที่มักพบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือ มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ข้าว,แป้ง) โปรตีนและไขมัน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินขาดหรือฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ซึ่งหากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ตาพร่ามัว ตาบอด ไตเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้า และอาจติดเชื้อได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยโรคเบาหวานสามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงได้

6. โรคไต

โรคนี้ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น จะทำหน้าที่ลดลง และเกิดการคั่งของเสียมากขึ้น ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ปกติ นำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง อันนำไปสู่การรักษาอย่างการล้างไต ฟอกเลือด และเปลี่ยนไตในที่สุด

อาการเสี่ยงของโรคไต : 

  • อ่อนเพลีย บวม
  • เหนื่อยง่าย
  • ความดันโลหิตสูง
  • เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะเป็นฟอง

7. โรคความดันโลหิตสูง

โรคสุดท้ายมาด้วย โรคความดันโลหิตสูง เมื่ออายุมากขึ้นความดันก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โอกาสพบโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุก็จะมากกว่าคนที่อายุน้อย รวมไปถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วนก็จะทำให้แรงต้านทานของเส้นเลือดที่อยู่ในร่างกายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยปกติค่าความดันโลหิตของคนทั่วไปจะต้องไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากมีความดันอยู่ระหว่าง 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท เป็นกลุ่มที่เสี่ยงกับ การเป็นโรคความดันโลหิตสูง และหากความดันมากกว่าเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท  จะจัดว่าเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

โรคนี้มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่บางครั้งหากความดันโลหิตขึ้นสูงมากก็จะมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น หน้ามืด ตาพร่า หากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามเราพอทราบโรคที่อาจจะเกิดในผู้สูงอายุแล้ว นอกจากการระมัดระวังในการใช้ชีวิต และดูแลตัวเอง ครอบครัว รวมถึงคนที่เรารักแล้ว โรคแต่ละโรคย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูง เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน การวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมาก ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อย 1 ครั้ง และอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ เหล่านั้น 

การซื้อประกันสุขภาพและประกันโรคร้าย จึงเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเงินเก็บจะหมด วันนี้แอดมิน NANA ขอแนะนำประกัน "ประกันมะเร็งและประกันโรคร้าย" จากพรูเด็นเชียลประกันชีวิตด้วยเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงหลักร้อยบาท แต่ความคุ้มครองสูงถึงหลักล้านบาท!!

  1. พรูคุ้มครองครบโรคร้ายแรง เจอปุ๊บ จ่ายปั๊บเมื่อพบกับ 4 โรคร้ายแรง : เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 219บาท/ปี
  2. พรูคุ้มครองโรคมะเร็งทุกระยะ เจอจ่ายทุกระยะ : เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 347บาท/ปี
  3. พรูเลดี้ แคนเซอร์ แคร์ เจอจ่ายจบเมื่อพบมะเร็งผู้หญิงระยะลุกลาม : เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 168บาท/ปี

โดยเริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่อายุ 20-64 ปี

คลิกเลย >> https://www.krungsribroker.com/critical-illness-insurance?utm_source=kgib_website&utm_medium=header_menu&utm_campaign=pru_omnibus

 

ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจทำประกัน แอดมินขอแนะนำให้ศึกษาแผนประกันอย่างละเอียด การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจทำประกันภัยนะคะ อย่างไรก็ตาม "การไม่มีโรคนั้นเป็นลาภอันประเสริฐ" แอดมินขอให้ทุกท่านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงกันทุกคนนะคะ :)