5 วิธีรับมือ “Heat stroke” ภัยร้ายหน้าร้อน
ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ในสภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ โรคฮีทสโตรก (Heat stroke) หรือโรคลมแดด เป็นอีกหนึ่งโรคที่เราทุกคนต้องเฝ้าระวังในหน้าร้อนแบบนี้
สัญญาณเตือน Heat stroke
หากคุณมีอาการหน้ามืด เพ้อ กระสับกระส่าย มึนงง หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตัวร้อนจัด อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิน 40 องศาเซลเซียสชักเกร็ง ช็อก จนถึงหมดสติ โปรดระวังเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคฮีทสโตรก และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
มาดู 5 วิธีรับมือ “Heat stroke” ภัยร้ายหน้าร้อน
- สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี และอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- ลดหรือเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนานๆ สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง
- ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
4. อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เนื่องจากอุณหภูมิภายในรถจะสูงกว่าภายนอก ส่วนผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และเป็นเวลาที่เหมาะสม
5. หมดกังวลเมื่อต้องเข้ารับการรักษาจาก Heat stroke ด้วยประกันภัยสุขภาพ IPD และ OPD คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งกรณีผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cigna.co.th/partner-krungsri-general-insurance-broker
เราขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพของตนเองและหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด หากจำเป็นต้องอยู่กลางแดดให้กางร่มหรือใส่หมวก และควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ หากสงสัยผู้มีอาการเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อน ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยพาเข้าร่มหรือสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท ให้ดื่มน้ำเย็นและเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ถ้ามีอาการรุนแรงหรือหมดสติควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
หากท่านอยู่ในสภาวะฉุกเฉินที่ต้องเข้าโรงพยาบาลทันที หมดกังวลการรักษาด้วย สิทธิ UCEP : Universal Coverage for Emergency Patients “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤติ หรือสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน สำหรับกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤตที่กำหนดใน “สิทธิ UCEP”คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เมื่อมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร 1669 ทั่วประเทศ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บทความดัดแปลงจากเว็บไซต์:
https://www.moph.go.th/uploads/news/image/ 5bc78f1d9dfa57f92495cca39dbc43c6.jpg
บทความโดย : YUKII :)