• หน้าแรก
  • ผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชัน
  • เพลินจิต
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
ท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์

5 ประโยค “ห้ามพูด” ถ้าอยากก้าวหน้า

วันที่เผยแพร่: 16 พ.ย. 65

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องเรียนรู้ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน แม้กระทั้งผู้บริหาร ซึ่งมารยาทเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะบงบอกถึงการแสดงความเป็นมืออาชีพ ร่วมไปถึงการบ่งบอกตัวตนของคุณเองด้วย บางทีอาจเผลอแสดงมารยาทที่ไม่เหมาะสมไปนั้น  ... อยากให้รู้ไว้ว่า หน้าต่างมีหู ประตูมีตา … เพราะฉะนั้นจะทำอะไรต้องรักษามารยาท

บางทีคำพูดที่เราบอกกับตัวเองว่า “ก็ฉันเป็นคนตรงๆ มีอะไรก็พูด ” ก็ไม่ใช้เรื่องดีเสมอไปนะคะ แอดมินขอฝากไว้นะคะ

เมื่อถึงความประเมินงานแล้วนอกจากเนื้องานที่เราทำแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆที่ใช้ประกอบการประเมินด้วย บางบริษัทมองว่าการประเมินผลงานประจำปีเป็นเรื่องล้าสมัย เพราะนายจ้างควรประเมินเรื่องอื่นๆ ทั้งขีดความสามารถในการทำงาน การบริการลูกค้า Teamwork ไปจนถึงทัศนคติ ทำให้หลายองค์กรใช้ระบบการให้คำแนะนำย้อนกลับ หรือFeedback รวมถึงระบบการสอนงาน แต่ไม่ว่าองค์กรจะใช้การประเมินแบบใด สิ่งสำคัญคือ พนักงานต้องสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี 5 ประโยคที่ไม่ควรเอ่ยออกมา เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลลบมากกว่า ซึ่ง cheatsheet.com เขียนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

 

 

“นี่ไม่ใช่หน้าที่ของฉัน”

ประโยคนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า ผู้พูดต้องปรับปรุงมารยาทไม่ให้พูดโพล่งออกมาแล้ว ควรจำไว้ด้วยว่า การกำหนดหน้าที่งาน หรือ Job Description ด้วย ถึงแม้จะไม่ใช่หน้าที่ของคุณแต่หัวหน้ามอบหมายงานให้แล้วนั้น อาจจะไปถึงให้เราออกจากบทบาทเดิมๆและลองทำอะไรที่ใหม่

นายจ้างชื่นชอบพนักงานที่มีความยืดหยุ่น พร้อมรับมือกับงานหลายๆ อย่างด้วยทัศนคติเชิงบวก

“คุณคาดหวังจากฉันมากเกินไป” 

แน่นอนว่า นายจ้างย่อมคาดหวังหลายเรื่อง ซึ่งอาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าทำงานเกินค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่การปกป้องตัวเองมากเกินไปก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ดังนั้น การอดทนและคุมสติเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอะไร เพราะการแสดงอารมณ์ออกมาอาจไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ยิ่งจะทำให้สถานการณ์แย่ลง อาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หากงานที่ได้รับมอบหมายเกินความสามารถของตน

 

 

 

“ฉันทำไม่ได้” 

การพูดว่า “ทำไม่ได้” เป็นข้อจำกัด ซึ่งนอกจากผู้พูดจะจำกัดความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้แล้ว ยังจำกัดความคิดของคนอื่นๆ รวมถึงนายจ้างเกี่ยวกับความสามารถของผู้พูดด้วย

การพูดประโยคนี้เท่ากับบอกนายจ้างว่า คุณไม่มีทักษะที่จะทำงานให้สำเร็จได้ และหากตอบห้วน ๆ ก็อาจแปลได้ว่า คุณไม่พยายามจะเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลเสียเข้าไปอีก อาจจะเปลี่ยนคำพูดอื่นๆ เช่น “เป็นข้อเสนอแนะที่ดี ให้โอกาสฉันได้มีส่วนร่วมที่จะทำให้สำเร็จด้วยคน” ซึ่งเปรียบเสมือนคุณบอกว่าคุณทำเองคนเดียวไม่ได้นะ แต่จะดีมากหากมีคนช่วยให้สำเร็จไปด้วยกันได้

“ขอบคุณที่สังเกตเห็นในที่สุด” 

การได้รับคำชื่นชมในการประเมินผลงานนับเป็นความสำเร็จในหน้าที่การงานขั้นเล็กๆ แต่ก็ไม่ควรหลงระเริงกับคำชมนั้น หากไม่สามารถรับมือได้ดีพอ เช่น การกล่าวคำประเภทว่า “ขอบคุณที่สังเกตเห็นในที่สุด” จะทำให้บรรยากาศกลับอึดอัด และอาจทำให้นายจ้างไม่ชื่นชมคุณอีกในอนาคต แค่ขอบคุณ แสดงถึงความจริงใจและยินดีกับความสำเร็จนี้

“ไม่ได้ขี้เกียจนะ ก็แค่ไม่แคร์เท่านั้นเอง” 

และนี่เป็นประโยคที่ไม่ควรพูดอย่างยิ่ง เพราะผู้ฟังหรือถ้านายจ้างไม่ได้รู้ถึงสถานการณ์ประโยคนี้ก็จะชวนอึดอัด ถึงแม้จะเป็นการพูดเล่นก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อนายจ้างมองหน้าเพื่อให้อธิบายถึงคำพูดดังกล่าวที่แสดงถึงความไม่พอใจ  ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ชวนอึดอัด

 

รู้เคล็ดลับ 5 ประโยคที่ห้ามพูดแล้ว ก็ทุ่มเททำงานให้เต็มที่ เวลาประเมินผลงานจะได้เปิดใจกับหัวหน้ากันแบบสบายใจ เผื่อได้ขึ้นเงินเดือน แถมด้วยตำแหน่งใหม่ๆ ก็ได้ ใครจะไปรู้!

สำหรับพวกเราพนักงานออฟฟิศ ใกล้สิ้นปีแล้วนอกจากเรื่องการประเมินผลการทำสิ้นปีจะเป็นยังไงก็ขอให้ทุกคนโชคดีได้รับโบนัสก้อนโตกันนะคะ และอย่าลืมวางแผนเรื่องภาษีสำหรับรองรับโบนัสก้อนโตกันด้วยนะคะ วันนี้ทีม เพลิน.จิต ก็มีประกันที่น่าสนใจมาแนะนำให้ทุกท่านได้พิจารณา  นอกจากจะได้ทั้งความคุ้มครองแล้ว ยังสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยนะคะ หากท่านไหนสนใจลองเข้ามาเลือกดูความคุ้มครองต่างๆ เพื่อออกแบบการวางแผนรองรับภาษี คลิก  ดูได้เลยคะ

 

 

 

 

บทความดัดแปลงมาจาก :  https://wealthmeup.com/5-ประโยค-ห้ามพูด/

 

 

 

บทความโดย : YUKII:)