
รถติดไฟแดง ควรเข้าเกียร์อะไร?

จอดรถติดไฟแดงใช้เกียร์ไหน
- จอดรถติดไฟแดง เกียร์ออโต้ หากจอดรอไฟแดงประมาณ 10-30 วินาที หรือการจราจรเคลื่อนตัวช้า สลับกับหยุดรถเป็นช่วงๆ ให้ใช้เกียร์ D ตามเดิม แต่ให้เหยียบเบรกค้าง แต่อาจจะต้องเพิ่มความระวังเพราะรถจะเคลื่อนไปข้างหน้า
- อดติดไฟแดงนานเกิน 1 นาที แนะนำว่าให้เข้าเกียร์ N ไว้พร้อมกับดึงเบรกมือ เนื่องจากการเข้าเกียร์ D และเหยียบเบรกทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะทำให้ชุดเกียร์รถยนต์สะสมความร้อน ส่งผลให้เกียร์รถยนต์พังเร็ว และเปลืองน้ำมัน
- Auto Brake Hold สำหรับรถรุ่นใหม่ๆ เป็นระบบเบรกมือทำงานโดยอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า ทำการเบรกให้โดยไม่ต้องค้างเท้าไว้ที่แป้นเบรก
- เกียร์ P ใช้เมื่อจอดรถดับเครื่องยนต์
- รถเกียร์ธรรมดา ควรใส่เกียร์ว่างพร้อมดึงเบรกมือเมื่อรถหยุด การเหยียบคลัตช์ค้างไว้ จะทำให้ลูกปืนคลัตช์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
เปลี่ยนเกียร์ไปมา ทำให้เกียร์พังเร็วจริงหรือไม่?
เคยได้ยินไหมคะว่าการสลับเกียร์ไปมาแรงดันในระบบเกียร์จะมีการเปลี่ยนแปลง และระบบเกียร์จึงต้องทำงานตลอด หากเป็นเช่นนี้เรื่อยในระยะเวลายาวส่งผลให้อายุการใช้งานของเกียร์ แต่ระบบเกียร์ยุคใหม่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยลงแล้ว และต้องใช้งานแบบนี้ระยะยาวที่ยาวมากๆ ถึงจะเกิดขึ้น ต่างจากเกียร์แบบเก่า 3 สปีด 4 สปีดจะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการสึกหรอขึ้นจริง
ไม่ควรเข้าเกียร์ P ขณะติดไฟแดง
การเข้าเกียร์ P เป็นการล็อกชุดเกียร์ จะมีกลไกชุดหนึ่งมาล็อกเพลาของชุดเกียร์อัตโนมัตินั้นไว้ไม่ให้ตัวชุดเกียร์เคลื่อนที่ได้ เมื่อรถถูกชนท้ายอาจทำให้ระบบเกียร์เสียหายจนใช้การไม่ได้ และมีค่าซ่อมแพง
นอกจากนี้การเปลี่ยนเกียร์ P มาเป็น D บางครั้งคนขับอาจไม่ทันระวัง แล้วเข้าเกียร์ผิดเป็นเกียร์ R แทน เมื่อเหยียบคันเร่งรถจะวิ่งถอยหลังอาจทำให้ชนกับรถคันท้ายได้ ดังนั้นการเข้าเกียร์ P ควรใช้เฉพาะตอนจอดรถดับเครื่องเท่านั้น
ไม่ว่าการใช้เกียร์แบบใด การใช้งานรถยนต์ก็ย่อมต้องมีสิ่งที่เรียกว่าแผนสำรองเพื่อหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แผนสำลองรองรับความเสียหายทั้งหากเกิดกับร่างกายและทรัพย์สิน เราทุกคนจึงควรมีประกันไว้ครอบครอง ทั้งประกันอุบัติเหตุ และประกันรถยนต์ที่พร้อมครอบคลุมกับความเสียหายหากเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันในอนคาต วันนี้แอดเลยมีประกันจากบริษัทชั้นนำทั่วไปมาแนะนำทั้งประกันชีวิต ประกันอุบัติ หรือประกันรถยนต์ กับบริษัท กรุงศรี เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จํากัด ซึ่งทุกท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ด้วยตนเอง หรือหรือสามารถทิ้งข้อมูลไว้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญติดต่อกลับเพื่ออธิบายรายละเอียดได้ค่ะ คลิกดูรายละเอียดเลย
เขียนบทความโดย: MAELUKSONG
ขอบคุณข้อมูลดี ๆประกอบบทความจาก:
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก รมการขนส่งทางบก